ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม

ลักษณะเศรษฐกิจ

ภาวะเศรษฐกิจจังหวัดบึงกาฬ
ด้านเศรษฐกิจจังหวัดบึงกาฬ
???? ด้านเศรษฐกิจ จังหวัดบึงกาฬมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากร?35,870?บาท/คน/ปี นักท่องเที่ยวเดินทางผ่านด่านบึงกาฬ จำนวน?48,453?คน/ปี การค้าชายแดนที่ด่านบึงกาฬประมาณ 5,387?ล้านบาท
โครงสร้างเศรษฐกิจ
  1. สาขาการเกษตรกรรมร้อยละ?26.56
  2. สาขาขายส่งขายปลีกฯร้อยละ?20.97
  3. ?สาขาการศึกษาร้อยละ?11.69
  4. สาขาอุตสาหกรรมร้อยละ?10.44
  5. สาขาบริหารราชการฯร้อยละ?6.49
  6. อื่นๆร้อยละ?23.85
ปัญหาและอุปสรรคการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน
  1. ระบบการค้าระหว่างประเทศ สปป.ลาว มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎระเบียบบ่อย
  2. การนำเข้า-ส่งออก ผู้ประกอบการต้องติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงที่เกี่ยวข้องใน สปป.ลาว ทำให้เกิดความล่าช้า
  3. ไม่มีสำนักงานตัวแทนของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า?(EXIM BANK)?ตั้งอยู่ในจังหวัดบึงกาฬ
  4. สินค้าจากไทยที่จำหน่ายให้สปป.ลาว ยังถูกจำกัดนำเข้าบางรายการ เนื่องจากมีโรงงานตั้งอยู่ใน สปป.ลาว ซึ่งสามารถผลิตได้เองบางส่วน
  5. ควร ลดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง เนื่องจากราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงควรลดค่าธรรมเนียมรถประเภทต่างๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว
  6. สปป.?ลาว ยังขาดสาธารณูปโภคพื้นฐานที่สำคัญ
  7. สปป.?ลาว ขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ และค่าเงินกีบไม่มีเสถียรภาพ จึงทำให้เป็นปัญหาที่นักธุรกิจไทยไม่สามารถค้ากับลาวด้วยเงินกีบ จึงไม่ตรงกับความประสงค์ของทางการลาว
  8. การค้านอกระบบ ได้ส่งผลกระทบต่อตัวแทนจำหน่ายสินค้าไทยใน สปป.ลาว เนื่องจากสินค้าลักลอบมีต้นทุนต่ำ
  9. ทัศนคติในเชิงลบของนักธุรกิจ และชาวลาวส่วนหนึ่งต่อนักธุรกิจไทย จึงทำให้มีความเชื่อถือนักธุรกิจไทยลดลง ส่งผลให้ สปป.ลาว หันไปค้าขายกับจีน เวียดนาม มากขึ้น
ภาคการค้าจังหวัดบึงกาฬ
การค้าชายแดนประกอบด้วยจุดผ่านแดนถาวร?1?จุด จุดผ่อนปรน?2?จุด ได้แก่
  1. ด่านศุลกากรบึงกาฬ?1?แห่ง
  2. ?จุดผ่อนปรน?2?จุด คือ
    1. จุดผ่อนปรนบ้านบุ่งคล้าอำเภอบุ่งคล้า ตรงข้ามกับบ้านปากกระดิ่ง แขวงเมืองบอลิคำไซ
    2. จุดผ่อนปรนบริเวณบ้านห้วยคาด ต.ปากคาด อ.ปากคาด ตรงข้ามกับบ้านทวยเมือง ท่าพระบาท แขวงเมืองบอลิคำไซ สปป.ลาว การค้าชายแดน? มูลค่า?5, 387?ล้านบาท แยกเป็น

มูลค่าสินค้านำเข้ามีมูลค่า?196?ล้านบาท

มูลค่าสินค่าออกมีมูลค่า?5, 993?ล้านบาท

ได้เปรียบดุลการค้ามีมูลค่าสูงถึง?4, 993?ล้านบาท

สินค้านำเข้าหลัก ได้แก่ ไม้แปรรูป รถยนต์นั่งใหม่พวงมาลัยซ้ายพร้อมอุปกรณ์ ไม้อัด ไม้สำเร็จรูปและเสื้อผ้า สินค้า ส่งออก ได้แก่ เครื่องดื่มกระทิงแดง เครื่องใช้ไฟฟ้า น้ำมันเครื่อง น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ผงชูรส รถบรรทุกเก่าใช้แล้วพร้อมอุปกรณ์ ปูนซิเมนต์ และของใช้เบ็ดเตล็ด

ประเด็นและสาขาการพัฒนาจังหวัด
ด้านเศรษฐกิจ
1)?การแก้ไขปัญหาความยากจน ลดปัญหาหนี้สิน และส่งเสริมการออมในครัวเรือน ให้สามารถพึ่งตนเองได้2)?ปรับโครงสร้างการผลิตให้หลากหลายและมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น และขยายฐานการผลิตโดยการร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน

3)?เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์?(Logistics)?ทั้งด้านข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐาน

4)?เพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพของแรงงานทั้งภาคการเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ได้รับการพัฒนาต่อยอดทั้งในเชิงพาณิชย์และ ใช้ประโยชน์ร่วมกัน เพื่อการดำรงชีวิตที่สงบสุข อย่างมีคุณค่าตามวิถีไทย

ลักษณะสังคม

ด้านศาสนา
???? ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และมีสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ได้แก่
  • วัด?(พุทธศาสนา)
  • โบสถ์?(คริสต์ศาสนา)
  • มัสยิด
ด้านสาธารณสุขสถานบริการสาธารณสุขภาครัฐสังกัดกระทรวงสาธารณสุขประกอบด้วย
โรงพยาบาลจังหวัดบึงกาฬ จำนวน?1?แห่ง
โรงพยาบาลชุมชนประจำอำเภอ จำนวน?7?แห่ง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล จำนวน?40?แห่ง
สถานีอนามัย จำนวน?61?แห่ง
สถาบันอุดมศึกษา/อาชีวะศึกษา
  1. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีศูนย์การศึกษาบึงกาฬ
  2. วิทยาลัยการอาชีพเซกาอำเภอเซกา
  3. วิทยาลัยการเทคนิคบึงกาฬอำเภอเมืองบึงกาฬ
  4. วิทยาลัยเอ็นเทค อินเตอร์เนชั่นแนลเทคโนโลยีหนองคาย?(เอกชน)
  5. วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจรักไทย?(เอกชน)
  6. บริหารธุรกิจพรเจริญ?(เอกชน)
ด้านการศึกษา
???? มีจำนวนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำนวน?216โรงเรียน จำนวน?2064?ห้องเรียน?(ก่อนประถมศึกษา-ป.6)?จำนวนนักเรียน?44,780?คน จำนวนครูทั้งหมด?2,435?คน จำนวนอัตราครู:?นักเรียน?1:109
ตารางที่?14:?แสดงจำนวนครู และนักเรียน แยกเป็นอำเภอ
อำเภอ จำนวนโรงเรียน(แห่ง) จำนวนห้อง จำนวนนักเรียน(คน) จำนวนครู(คน) ครู:นักเรียน
1.?อำเภอเมืองบึงกาฬ 51 447 10,079 530 1 : 74
2.?อำเภอพรเจริญ 21 193 4,521 256 1 : 129
3.?อำเภอเซกา 44 431 9,031 531 1 : 123
4.?อำเภอบึงโขงหลง 18 174 3,966 215 1 : 141
5.?อำเภอศรีวิไล 15 177 4,387 230 1 : 243
6.?อำเภอบุ่งคล้า 11 89 1,358 84 1 : 54
7.?อำเภอโซ่พิสัย 37 353 7,674 395 1 : 144
8.?อำเภอปากคาด 17 170 3,764 194 1 : 91
รวม 216 2,064 44,780 2,435 1 : 109
ที่มา?:?สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
???? มีจำนวนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบึงกาฬ จำนวน?25?โรงเรียน จำนวน?515?ห้องเรียน?(ม.1-ม.6)?จำนวนนักเรียน?18, 651?คน จำนวนครูทั้งหมด?677?คน จำนวนอัตรา ครู:?นักเรียน?1: 27
อำเภอ จำนวนโรงเรียน(แห่ง) จำนวนห้อง จำนวนนักเรียน(คน) จำนวนครู(คน) ครู:นักเรียน
1.?อำเภอเมืองบึงกาฬ 4 99 3,914 129 1 : 30
2.?อำเภอพรเจริญ 3 65 2,408 89 1 : 27
3.?อำเภอเซกา 6 100 3,692 141 1 : 26
4.?อำเภอบึงโขงหลง 2 35 1,180 46 1 : 25
5.?อำเภอศรีวิไล 2 53 1,847 65 1 : 28
6.?อำเภอบุ่งคล้า 1 21 756 30 1 :25
7.?อำเภอโซ่พิสัย 4 76 2,606 93 1 : 28
8.?อำเภอปากคาด 3 66 2,250 84 1 : 26
รวม 25 515 18651 677 1 : 27
ที่มา?:?สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต?21 และ?http://buengkanpao.org/

 

ดาวน์โหลด ➡ ข้อมูลแผนพัฒนาจังหวัด 4 ปี ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (จังหวัดบึงกาฬ)